ภาคเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีดินนามีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง-สูง อากาศดี ปริมาณน้ำฝนเพียงพอตลอดฤดูปลูกดีกว่าภาคอื่นๆ ทำการปลูกข้าวนาสวนในที่ราบระหว่างภูเขากันเป็นส่วนใหญ่ เหมาะสำหรับการเพาะปลูกข้าวในกลุ่มข้าวหอมมะลิไทย และข้าวเหนียว
บริษัทฯ มีโครงการพัฒนาระบบการปลูกข้าวเพื่อความยั่งยืน (ข้าวเหนียว) และโครงการพัฒนาระบบการปลูกข้าวเพื่อความยั่งยืน (ข้าวญี่ปุ่น) รวมจำนวนทั้งสิ้น 2 จังหวัด ได้แก่
จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา
ภาคกลางพื้นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ มีแม่น้ำลำคลองมากมายไหลผ่าน และมีระบบการชลประทานที่ดีเยี่ยม ทำให้สามารถทำนาได้ตลอดทั้งปี
ภาคกลางจึงเป็นพื้นที่สำคัญในการทำนาปลูกข้าวมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พื้นที่ทำนาในภาคนี้นิยมปลูกข้าวเจ้ากันเป็นส่วนใหญ่
ด้วยสภาพดินมีความเป็นดินเหนียวมากกว่าในท้องที่ภูมิภาค อื่นๆ ทั้งนี้ ชาวนาภาคกลางยังเน้นการปลูกข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงซึ่งสามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล
ทำให้ได้ผลผลิตมากกว่า 1 ครั้งต่อปี
บริษัทฯ มีโครงการพัฒนาระบบการปลูกข้าวเพื่อความยั่งยืน (ข้าว กข43) และโครงการพัฒนาระบบการปลูกข้าวเพื่อความยั่งยืน (ข้าวปทุมธานี1) รวมจำนวนทั้งสิ้น 4 จังหวัด
ได้แก่
จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดกำแพงเพชร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกข้าวมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนมากถึงครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทำนาทั้งหมดของประเทศ
สภาพของพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูงและมีความแห้งแล้งกว่าภาคอื่นๆแต่อย่างไรก็ดี
ภูมิภาคนี้กลายเป็นแหล่งผลิตข้าวที่มีคุณสมบัติพิเศษหลายสายพันธุ์ รวมถึงข้าวหอมมะลิจากพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ที่สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลก
บริษัทฯ มีโครงการพัฒนาระบบการปลูกข้าวเพื่อความยั่งยืน (ข้าวหอมมะลิ) รวมจำนวนทั้งสิ้น 6 จังหวัด ได้แก่
จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร จังหวัดบุรีรัมย์
จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดอุบลราชธานี